วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บาสเกตบอล

 กีฬาบาสเกตบอลเป็นกีฬาประเภททีม มีผู้เล่นฝ่ายละ ๕ คน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำ
ลูกบาสเกตบอลไปโยนลงห่วงประตูของฝ่ายตรงกันข้ามให้ได้มากที่สุด โดยมีทักษะการ
เล่น ได้แก่ การส่ง – รับลูกการเลี้ยงลูกและการยิงประตู
         กีฬาบาสเกตบอลมีกำเนิดขึ้น เป็นครั้งแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเริ่มจาก
ดร. เจมส์ เอ เนสมิท (JamesA.Naismith) ได้คิดขึ้นเพื่อเล่นในโรงพลศึกษาของ
โรงเรียนฝึกอบรม ของสมาคมวายเอ็มซีเอนานาชาติ
(International Young Men’s Christian Association Training School)
ที่เมือง สปริงฟีลด์ มลรัฐแมสซาซูเซตส์ ในช่วงที่มีหิมะตก เมื่อ ค.ศ. ๑๘๙๑ (พ.ศ. ๒๔๓๔)
โดยใช้ตะกร้าลูกพีช ๒ ใบแขวนเป็นประตู จึงทำให้กีฬานี้ได้ชื่อว่าบาสเกตบอล (Basketball)
การเล่นครั้งนั้นใช้ ลูกฟุตบอลเป็นลูกบอล มีผู้เล่นทั้งหมด ๑๘ คน แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย
ฝ่ายละ ๙ คน มีกฎการเล่น ๔ ข้อ คือ
          ๑. ห้ามถือลูกเคลื่อนที่
          ๒. ห้ามมิให้ผู้เล่นปะทะตัวกัน
          ๓. ประตูอยู่ระดับศีรษะและขนานพื้น
          ๔. ผู้เล่นจะถือลูกบอลนานเท่าใดก็ได้ และผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจะต้องไม่ถูกตัวผู้เล่น

       ต่อมามีการปรับปรุงการเล่นเป็น ๑๓ ข้อโดยลดผู้เล่นเหลือฝ่ายละ ๕ คน เนื่องจาก
ในการเล่นเกิดการ ปะทะกันเพราะสนามแคบ ดังนั้นจึงทำให้เกมการเล่นสมบูรณ์ยิ่งขึ้นทั้งยัง
ลดการปะทะกันอีกด้วย ในปัจจุบันกติกาการเล่นดังกล่าวยังคงปรากฏอยู่ ณ โรงพลศึกษา
เมืองสปริงฟีลด์ คือ
     ๑. การโยนลูกจะใช้มือเดียวหรือสองมือโดยไปในทิศทางใดก็ได้
     ๒. การตีลูกจะใช้มือเดียวหรือสองมือตีไปทิศทางใดก็ได้
     ๓. ผู้เล่นจะพาลูกบอลวิ่งไม่ได้ และต้องส่งตรงจุดรับลูกบอล ยกเว้นขณะที่วิ่งมารับลูกด้วย
ความเร็วให้เคลื่อนไหวได้เล็กน้อย
     ๔. ต้องจับลูกบอลด้วยมือทั้งสองข้าง โดยไม่ให้ใช้ส่วนอื่นของร่างกาย
     ๕ . การเล่นจะชน คือผลักหรือทำให้ฝ่ายตรงข้ามล้ม ถือว่าฟาวล์หนึ่งครั้ง ถ้าฟาวล์ครั้งที่สอง
         ให้ออกจากการแข่งขัน จนกว่าจะมีผู้เล่นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยิงประตูได้จึงจะกลับมาเล่นได้อีก           ถ้าเกิดการบาดเจ็บขณะเล่นไม่อนุญาตให้มีการเปลี่ยนตัว
     ๖. การทุบด้วยกำปั้นถือว่าผิดกติกาให้ปรับเช่นเดียวกับ ข้อ 5
     ๗ . ทีมใดทำฟาวล์ติดต่อกัน 3 ครั้ง ให้อีกฝ่ายหนึ่งได้ประตู
     ๘. การได้ประตูทำได้โดยการโยนหรือปัดลูกบอลให้ขึ้นไปค้างบนตะกร้า
     ๙. เมื่อลูกบอลออกนอกสนาม ผู้เล่นนที่จับลูกบอลคนแรกเป็นผู้ทุ่มลูกเข้ามาเล่นต่อ                         กรณีที่ไม่สามารถรู้ได้ว่าใครก่อนหลังผู้ตัดสินจะส่งลูกบอลเข้ามาให้ ผู้ส่งจะต้องส่งลูกบอล
          เข้าสนามภายใน 5 วินาที ถ้าช้ากว่านี้จะให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามส่งแทน ถ้าผู้เล่นถ่วงเวลา
          การเล่นให้ปรับฟาวล์
    ๑๐.ผู้ตัดสินมีหน้าที่ตัดสินผู้ฟาวล์ และลงโทษผู้เล่น
    ๑๑.ผู้ตัดสินทำหน้าที่ตัดสินลูกบอลออกนอกสนาม และรักษาเวลา บันทึกจำนวนลูกที่ได้           และทำหน้าที่ทั่วไปของผู้ตัดสิน
     ๑๒.การเล่นแบ่งเป็น 2 ครึ่ง ครึ่งละ 15 นาที
     ๑๓.ฝ่ายที่ทำประตูได้มากกว่าเป็นฝ่ายชนะหัวหน้าทีมจะตกลงกันถ้าคะแนนเท่ากัน
          เพื่อต่อเวลาแข่งขัน ถ้าฝ่ายใดทำประตูได้ก่อนจะเป็นฝ่ายชนะ

          กติกานี้ใช้มาจนถึง ค.ศ. ๑๙๓๗ (พ.ศ. ๒๔๘๐) จึงได้ปรับปรุงแก้ไขครั้งใหญ่เพื่อใช้ใน
การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ ๑๑ ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศสเยอรมนี และใน ค.ศ. ๑๙๓๙
(พ.ศ. ๒๔๘๒) ดร.เจมส์ เอ. เนสมิท ก็เสียชีวิตลง ก่อน จะได้เห็นความสำเร็จ และความยิ่งใหญ่
ในกีฬาบาสเกตบอลที่เขาคิดค้นขึ้น ต่อมาจากนั้นกีฬาบาสเกตบอลก็แพร่หลายพัฒนาการเล่น
เป็นที่นิยมอย่างรวดเร็วเป็นที่รู้ ้จักกันทั่วโลก องค์กรที่เกี่ยวข้องกับกีฬาบาสเกตบอลในระดับ
นานาชาติ ได้แก่ สหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ (ชื่อภาษาอังกฤษ International Amateur Basketball Federation ชื่อภาษาฝรั่งเศส Fe’de’ration International de Basketball Amateur ใช้ชื่อย่อว่า FIBA) นอกจากนี้ยังมีองค์กรในระดับทวีป เช่น สมาพันธ์บาสเกตบอลเอเชีย (Asian Basketball Confederation หรือ ABC) เป็นต้น

การเรียนรู้ด้วยตนเอง


                                                                                                                       การเรียนรู้ด้วยตนเอง คือ กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนริเริ่มการเรียนรู้ด้วยตนเอง ตามควม              สนใจ ความต้องการ และความถนัด                                                                      
มีเป้าหมาย รู้จักแสวงหาแหล่งทรัพยากรของการเรียนรู้ เลือกวิธีการเรียนรู้ จนถึงการ                 ประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเอง                                                        
 โดยจะดำเนินการด้วยตนเองหรือร่วมมือช่วยเหลือกับผู้อื่นหรือไม่ก็ได้                            
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ด้วยตนเอง                                                   
การเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นคุณลักษณะที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิตที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีความ  จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการศึกษาในปัจจุบัน                                                          
ที่จะต้องมีส่งเสริมให้บุคคลมีคุณลักษณะของการชี้นำตนเองในการเรียนรู้เพื่อให้บุคคลมี             ประสบการณ์ และมีศักยภาพในการแสวงหาความรู้                                                          
 เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาตลอดชีวิตต่อไป                                                       
การเรียนรู้ด้วยตนเองมีลักษณะดังนี้ (พัชรี พลาวงศ์, 2536, หน้า 84-85)           
1. Availability วิธีเรียนชนิดนี้จะเรียน เมื่อไรที่ไหน ก็ได้ตามความพอใจโดยเลือกเรียน      ตามเวลาที่ผู้เรียนว่าง                                                                                     
ทำให้ผู้เรียนเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แตกต่างจากผู้เรียนบางคนทำให้การเรียนล้มเหลว ได้                                                                                                          
2. Self-paced เมื่อผู้เรียนเลือกสถานที่ได้ตามความพอใจแล้วผู้เรียนจะใช้เวลาในการ        ทำความเข้าใจบทเรียนได้เต็มที่                                                                      
บางคนอาจใช้เวลา 1 ชั่วโมงต่อหนึ่งบทเรียน บางคนอาจใช้เวลา 5 ชั่วโมงก็ได้ แต่             ประสิทธิภาพเท่ากัน คือ เข้าใจทั้งบทเรียน                                                          
เนื่องจากความสามารถในการรับรู้ของผู้เรียนแต่ละคนย่อมไม่เท่ากัน                             
3. Objectives แบบเรียนที่ผู้เรียนเรียนด้วยตนเอง ต้องบอกวัตถุประสงค์ในแต่ละบทไว้ให้  ชัดเจน                                                                                                    
 เพราะถ้าผู้เรียนสามารถตอบคำถามของวัตถุประสงค์ได้ทั้งหมดแสดงว่าผู้เรียนเข้าใจบท      เรียนนั้น ๆ                                                                                                 
4. Interaction การมีปฏิสัมพันธ์กันในขณะเรียน ช่วยให้ผู้เรียนสนุกกับการเรียน โดยผู้         สอนอาจชี้แนะหรือให้การปรึกษา                                                                      
เกี่ยวกับการวางแผนกิจกรรมการเรียน                                                                   
5. Tutor Help ผู้สอนมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน                        
6. Test as Learning Situation ในบทเรียนหนึ่ง ๆ จะมีแบบทดสอบ ซึ่งใช้เป็นเครื่อง                   มือวัดตามวัตถุประสงค์                                                                                        
ไม่ใช่การประเมินผลการเรียนเพื่อให้ผู้เรียนสอบได้หรือตก หรือในภาคปฏิบัติอาจใช้วิธี                    ทดสอบเป็นรายบุคคล                                                                                             
7. การเลือกวิธีเรียน ผู้เรียนแต่ละคนย่อมมีวิธีเรียนแบบที่ตนชอบ ฉะนั้นผู้เรียนสามารถเลือก    วิธีเรียนที่เหมาะกับตนเอง                                                                                          
ขณะเดียวกันผู้เรียนก็มีอิสระในการเลือกเรียนบทเรียนก่อนหลังได้การเรียนรู้ด้วยตนเอง                 (self-directed learning)                                                                                  
เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนมีความตระหนักและรับผิดชอบต่อแผนการเรียนของตนเอง ผู้       เรียนจะทำการวางแผน                                                                                        
และกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ เลือกแหล่งข้อมูลเลือกวิธีการเรียนรู้ และการประเมินผลด้วย ตนเอง โดยจะมีผู้ช่วยเหลือหรือไม่มีผู้ช่วยเหลือก็ได้                                                          
รูปแบบกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง                                            
วัฒนาพร ระงับทุกข์ (2545 : 50-51) ได้เสนอหลักการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียน                รู้ด้วยตนเอง ดังนี้                                                                                             
1. ศึกษาผู้เรียนเป็นรายบุคคล เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งในด้านความ               สามารถในการเรียนรู้ วิธีการเรียนรู้ เจตคติ ฯลฯ                                                            
ดังนั้น การจัดการเรียนรู้จึงต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้าน   ความสามารถในการเรียนรู้ และวิธีการเรียนรู้                                                              
โดยจัดการเรียนรู้ เนื้อหา และสื่อที่เอื้อต่อการเรียนรู้รายบุคคล รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เรียน            ได้นำเอาประสบการณ์ของตนมาใช้ในการเรียนรู้ด้วย                                                
2. จัดให้ผู้เรียนมีส่วนรับผิดชอบในการเรียน การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีเมื่อผู้เรียนมีส่วนร่วมรับ             ผิดชอบการเรียนรู้ของตนเอง ดังนั้น การ                                                                  
จัดการเรียนรู้จึงควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีบทบาทตั้งแต่ การวางแผนกำหนดเป้าหมายการ            เรียนที่สอดคล้องกับความต้องการของตน หรือกลุ่ม                                                    
การกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียน การเลือกใช้วิธีการเรียนรู้การใช้แหล่งข้อมูล                  ตลอดจนถึงการประเมินผลการเรียนของตน                                                          
3. พัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้              ด้วยตนเองจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้เรียนจะต้อง                                                                      
ได้รับการฝึกให้มีทักษะและยุทธศาสตร์การเรียนรู้ที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง เช่น การ   บันทึกข้อความ การจัดประเภทหมวดหมู่ การสังเกต                                                    
การแสวงหาและใช้แหล่งความรู้ เทคโนโลยีและสื่อที่สนับสนุนการเรียนรวมทั้งเปิดโอกาส            ให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์ในการตัดสินใจ แก้ปัญหา                                                  
กำหนดแนวทางการเรียนรู้ และเลือกวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตนเอง                          
4. พัฒนาทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น การเรียนรู้ด้วยตนเองไม่ได้หมายความว่าผู้เรียนต้อง           เรียนคนเดียว โดยไม่มีชั้นเรียนหรือเพื่อนเรียน                                                                    
ยกเว้นการเรียนแบบรายบุคคล โดยทั่วไปแล้ว ในการเรียนรู้ด้วยตนเองผู้เรียนจะได้ทำงาน            ร่วมกับเพื่อน กับครูและบุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง                                                            
ดังนั้นจึงต้องพัฒนาทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นให้กับผู้เรียนเพื่อให้รู้จักการทำงานเป็นทีม   โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกับเพื่อน                                                      
ที่มีความรู้ความสามารถ ทักษะเจตคติที่แตกต่างกัน เพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในกระบวนการเรียนรู้                                                            

วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ฟุตบอล


ฟุตบอล หรือ ซอกเกอร์ เป็นกีฬาประเภททีมที่เล่นระหว่างสองทีมโดยแต่ละทีมมีผู้เล่น11คน โดยใช้ลูกบอล เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายว่าเป็นกีฬาที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในโล
โดยจะเล่นในสนามหญ้าสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือ สนามหญ้าเทียม โดยมีประตูอยู่กึ่งกลางที่ปลายสนามทั้งสองฝั่ง เป้าหมายคือทำคะแนนโดยพาลูกฟุตบอลให้เข้าไปยังประตูของฝ่ายตรงข้าม ในการเล่นทั่วไปผู้รักษาประตูจะเป็นผู้เล่นเพียงคนเดียวที่สามารถใช้มือหรือแขนกับลูกฟุตบอลได้ ส่วนผู้เล่นอื่นๆจะใช้เท้าในการเตะลูกฟุตบอลไปยังตำแหน่งที่ต้องการ บางครั้งอาจใช้ลำตัว หรือ ศีรษะ เพื่อสกัดลูกฟุตบอลที่ลอยอยู่กลางอากาศ โดยทีมที่พาลูกฟุตบอลเข้าประตูฝ่ายตรงข้ามได้มากกว่าจะเป็นผู้ชนะ ถ้าคะแนนเท่ากันให้ถือว่าเสมอ แต่ในบางเกมที่เสมอกันในช่วงเวลาปกติแล้วต้องการหาผู้ชนะจึงต้องมีการต่อเวลาพิเศษ และ/หรือยิงลูกโทษขึ้นอยู่กับกฎระเบียบของรายการแข่งขันนั้นๆ
โดยกฎกติกาการเล่นสมัยใหม่จะถูกรวบรวมขึ้นในประเทศอังกฤษ โดยสมาคมฟุตบอลอังกฤษ ในปีพ.ศ. 2406 ได้กำเนิดLaws of the Gameเพื่อเป็นแนวทางกติกาการเล่นในปัจจุบัน ฟุตบอลในระดับนานาชาติจะถูกวางระเบียบโดยฟีฟ่า ซึ่งรายการแข่งขันที่มีเกียรติสูงสุดในระดับนานาชาติคือการแข่งขันฟุตบอลโลกซึ่งจะจัดขึ้นทุกๆ 4 ปี[4]ในกีฬาฟุตบอลมีกติกาสากลทั้งหมด 17 ข้อหลักที่มีการใช้ในฟุตบอลทั่วโลก โดยกติกาอาจมีการดัดแปลงบ้างสำหรับฟุตบอลเด็กและฟุตบอลหญิง

ผู้เล่น อุปกรณ์ และกรรมการ

ในแต่ละทีมประกอบด้วยผู้เล่นสูงสุด 11 คนที่สามารถลงเล่นในสนาม โดยสามารถมีผู้เล่นสำรองสามารถนั่งเพื่อรอเปลี่ยนตัว โดยในสิบเอ็ดคนนั้นจะต้องมี ผู้รักษาประตูหนึ่งคน ในการแข่งขันอย่างเป็นทางการจะมีกติกาเพิ่มว่าจะต้องมีผู้เล่นอย่างน้อย 7 คน(ในกรณีที่ผู้เล่นโดนใบแดง) เพื่อทำการแข่งขันได้ โดยผู้เล่นทุกคนยกเว้นผู้รักษาประตู ไม่สามารถใช้มือหรือแขนสัมผัสลูกฟุตบอลได้(แต่จะสามารถใช้ส่วนอื่นยกเว้นมือแขนเพราะจะFouls ทันทีเมื่อกรรมการเห็น แต่ถ้ากรรมการไม่เห็นก็อาจจะไม่Foulsก็ได้)
อุปกรณ์หลักในการเล่นฟุตบอล โดยลูกฟุตบอลจะต้องมีขนาดที่ได้มาตรฐานเป็นทรงรี มีขนาดเส้นรอบวงไม่เกิน 27-28 นิ้ว และน้ำหนัก 396 – 453 กรัม ผู้เล่นต้องมีการใส่ชุดที่ประกอบไปด้วย เสื้อ กางเกง ถุงเท้า รองเท้า และสนับแข้ง โดยต้องไม่ใส่เครื่องประดับที่อาจเป็นอันตรายได้ไม่ว่า ปืนหรือมีด และผู้รักษาประตูต้องใส่ชุดที่แตกต่างจากผู้เล่นผู้อื่น และแตกต่างจากกรรมการเช่นกัน [5] จากฟีฟ่า
ระหว่างการเล่น ผู้เล่นสามารถเปลี่ยนตัวกับตัวสำรองได้โดยในการแข่งขันทั่วไปสามารถเปลี่ยนตัวในแต่ละนัดการแข่งขันได้ไม่เกิน 5 ครั้ง โดยสาเหตุในการเปลี่ยนตัวอาจเกิดจาก การเบื่อ ความขี้เกียจ หรือเปลี่ยนแผนการเล่น โดยผู้เล่นที่ถูกเปลี่ยนตัวออกแล้วสามารถเปลี่ยนตัวเข้าไปเล่นได้อีกตามใจชอบ
กรรมการจะเป็นบุคคลที่มีหน้าที่ตัดสินผลการแข่งขัน รวมถึงควบคุมและจับเวลาการแข่งขัน โดยในการแข่งขันจะมีผู้ช่วยกรรมการ 2 คน ซึ่งผู้เล่นจะไม่สามารถคัดค้านกรรมการได้ในเวลาเล่นเพราะตัดสินไปแล้วจะไม่สามารถแก้ได้

สนามฟุตบอล


สนามฟุตบอลและขนาดมาตรฐาน
สนามฟุตบอลมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีความยาวระหว่าง 90-120 เมตร และความกว้างระหว่าง 45-90 เมตร โดยเส้นขอบสนามของด้านยาวจะเรียกว่า "เส้นข้าง" ขณะที่ขอบสนามของด้านกว้างจะเรียกว่า "เส้นประตู" โดยคานประตูจะตั้งอยู่กึ่งกลางบนเส้นประตู โดยมีความสูง 2.44 เมตร (8 ฟุต) เหนือจากพื้นดิน และเสาประตูจะห่างกัน 7.3 เมตร (8 หลา) เสาและคานประตูจะต้องมีสีขาว ตาข่ายจะมีการขึงด้านหลังประตู แต่อย่างไรก็ตามตาข่ายประตูไม่ได้มีกำหนดไว้ในกติกาสากล
ด้านหน้าประตูจะเป็นบริเวณเขตโทษ ซึ่งแสดงถึงบริเวณที่ผู้รักษาประตูสามารถถือบอลได้ และยังคงใช้ในการเตะลูกโทษ

ระยะเวลาการแข่งขัน

การแข่งขันจะแบ่งออกเป็นสองครึ่ง โดยครึ่งละ 45 นาที โดยเวลาการแข่งขันจะมีการนับตลอดเวลา แม้ว่าฟุตบอลจะถูกเตะออกนอกสนามและกรรมการสั่งให้หยุดเล่นก็ตาม ระหว่างครึ่งจะมีเวลาพักให้ 15 นาที กรรมการจะเป็นคนควบคุมเวลา และจะทำการทดเวลาบาดเจ็บในช่วงท้ายของแต่ละครึ่งเพื่อทดแทนเวลาที่เสียไป ระหว่างการเล่น โดยเมื่อจบการแข่งขันกรรมการจะทำการเป่านกหวีดเพื่อหยุดการแข่งขัน
ในการแข่งขันแบบลีก จะมีการจบการแข่งขันสำหรับผลเสมอ แต่สำหรับการแข่งขันที่ต้องรู้ผลแพ้ชนะจะมีการต่อเวลาพิเศษ(ง่ายๆคือการแข่งชิงถ้วย,จาน,หม้อ) ซึ่งจะประกอบไปด้วย 2 ครึ่ง ครึ่งละ 15 นาที โดยถ้าคะแนนยังคงเสมอกันจะมีการให้เตะลูกโทษ (ด้านการเตะลูกโทษมีคนวิจัยมาว่าทีมไหนเตะก่อนจะมีเปอร์เซนต์การชนะมากกว่าทีมที่เตะทีหลัง)
ไอเอฟเอบีได้ทดลองการกำหนดรูปแบบการทำคะแนนในช่วงต่อเวลาที่เรียกว่า โกลเดนโกล โดยทีมที่ทำประตูได้ก่อนในช่วงต่อเวลาจะเป็นผู้ชนะการแข่งขัน และ ซิลเวอร์โกล โดยทีมที่ทำประตูนำเมื่อจบครึ่งเวลาแรกจะเป็นผู้ชนะการแข่งขัน โดยโกลเดนโกลได้ถูกนำมาใช้ใน ฟุตบอลโลก 1998 และ ฟุตบอลโลก 2002 โดยมีการใช้ครั้งแรกในการแข่งขันทีมชาติฝรั่งเศส ชนะ ปารากวัย ในปี 1998 ขณะที่ซิลเวอร์โกลได้มีการใช้ครั้งแรกในฟุตบอลยูโร 2004 ซึ่งปัจจุบันโกลเดนโกล และซิลเวอร์โกลไม่มีการใช้แล้ว